วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

017.การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย

1. วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย
การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ
วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย
วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ.2552
ณ หอประชุมอาคารรวมวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่






09972. ภาพบรรยากาศในวันสัมมนาเชิงวิชาการ


1.
วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย

โดย ศ.ดร. มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด
และ นายอัครพงศ์ อั้นทอง
สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ??


2.
ประเด็นปัญหาการวิจัย

วิกฤตการของไทย มีผลต่อภาพลักษณ์ ความพึงพอใจ และ ความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวของไทยอย่างไร


3.
แนวคิดทางทางทฤษฏี

3.1. กรอบแนวคิดการประเมินภาพลักษณ์ ความพึงพอใจ คุณค่าที่ได้รับ และ ความนิยมต่อแหล่งท่องเที่ยว

3.2. กรอบแนวคิดเรื่อง ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างภาพลักษณ์ ความพึงพอใจ คุณค่าที่ได้รับ และ ความนิยมต่อแหล่งท่องเที่ยว


4.
กรอบแนวคิด Destination Image Model (DIM)

4.1. ก่อนการท่องเที่ยว
4.2. ระหว่างการท่องเที่ยว
4.3. หลังจากการท่องเที่ยว
4.4. พฤติกรรมในอนาคต


5.
ระเบียบวิธีวิจัย

5.1. สัมภาษณ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 5,359 ชุด

5.1.1 สถานการณ์ ก่อนเหตุการณ์ปิดสนามบิน
5.1.2 สถานการณ์ ปิดสนามบิน
5.1.3 สถานการณ์ หลังปิดสนามบิน แต่ ก่อนสงกรานต์เลือด
5.1.4 สถานการณ์ เหตุการณ์สงกรานต์เลือด
5.1.5 สถานการณ์ หลังสงกรานต์เลือด

5.2 Confirmatory Factors Analysis (CFA)

5.3 Structural Equation Model (SEM)



6.
ผลกระทบของระยะเวลาปิดสนามบินต่อนักท่องเที่ยว

6.1. เช็คอินเสร็จแล้ว แต่เครื่องบินไม่สามารถออกจากสนามบินได้ = 5.7 %
6.2. เสร็จจากการท่องเที่ยว และ เดินทางไปที่สนามบิน = 7.5 %
6.3. คาดว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยภายใน 1-2 วัน = 15.4 %
6.4. อยู่ในประเทศไทยอีก 3 - 5 วัน ก่อนถึงเวลาเดินทางกลับ = 22.4 %
6.5. อยู่ในประเทศไทยอีก 6 - 10 วัน ก่อนถึงเวลาเดินทางกลับ = 26.7 %
6.6. วางแผนว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยภายในเดือนธันวาคม จากหนึ่งในสนามบินที่ถูกปิด = 21. 8 %

ผู้ตอบแบบสอบถาม รวม 495 คน



8.
ผลกระทบจากการปิดสนามบิน


9.
ผลกระทบจากการปิดสนามบิน

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น


9.1. มีค่าใช้จ่ายเกิดจากความล่าช้าในการเดินทางกลับ = 28.3 %
9.2. รู้สึกกระวนกระวายใจ = 27.9 %
9.3. มีความยุ่งยากในการเปลี่ยนแปลงแผนการเดินทาง = 22.6 %
9.4. ต้องติดค้างในประเทศไทย = 20.2 %
9.5. ต้องผิดนัดสำคัญ = 13.9 %
9.6. ไม่สามารถเดินทางไปประเทศปลายทางอื่นๆได้ = 12.5 %
9.7. ต้องค้างคืนที่สนามบิน = 2.8 %

N = 495 คน


11.
ความพึงพอใจต่อความช่วยเหลือ

หน่วยงาน ร้อยละ ไม่พอใจ/พอใจมาก และ ค่าเฉลี่ย

11.1. ส่วนงานราชการ และ เจ้าหน้าที่สนามบินของประเทศไทย
ไม่พอใจ = 11.7 %, พอใจมาก = 14.8 % , ค่าเฉลี่ย = 2.98

11.2. สายการบิน หรือ บริษัท ทัวร์ของประเทศของนักท่องเที่ยว
ไม่พอใจ = 22.0 %, พอใจมาก = 12.9 % , ค่าเฉลี่ย = 2.64

11.3. การบิน หรือ บริษัททัวร์ไทย
ไม่พอใจ = 18.8 %, พอใจมาก = 8.7 % , ค่าเฉลี่ย = 2.63

11.4. รัฐบาลของนักท่องเที่ยว
ไม่พอใจ = 25.7 %, พอใจมาก = 16.2 % , ค่าเฉลี่ย = 2.57


10.
ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว

รายการ ค่าเฉลี่ย ($) และ (บาท)

10.1. ค่าใช้จ่ายรวมในประเทศไทย = 2,260 $ , 74,580 บาท
10.2. ค่าใช้จ่ายจากการเดินล่าช้าเฉลี่ยต่อทริป = 430 $ , 14,190 บาท
10.3. ค่าใช้จ่ายจากการเิดินทางล่าช้าเฉลี่ยต่อวั = 112 $, 3,696 บาท


12.
การเปรียบเทียบภาพลักษณ์ ช่วงก่อน และ หลังการปิดสนามบิน


13.
ภาพลักษณ์ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

13.1. ทะเล ชายหาด = 4.05, 4.12 และ ไม่แตกต่าง
13.2. แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอื่นๆ = 4.06, 4.12 และ ไม่แตกต่าง
13.3. วิถีไทย = 3.95, 3.92 และ ไม่แตกต่าง
13.4. วัฒนธรรม = 3.97 , 3.90 และ ไม่แตกต่าง


15.
ภาพลักษณ์ด้านบริการ / สาธารณูปโภค

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

15.1. การคมนาคมสื่อสาร = 3.47 , 3.10 และ 99 %
15.2. ความปลอดภัย = 3.48 , 3.18 และ 99 %
15.3. ผู้คน = 4.17 , 3.98 และ 99 %
15.4. คุณภาพบริการ = 3.76 , 3.61 และ 95 %
15.5. คุ้มราคา = 3.88 , 3.76 และ 95 %
15.6. ความสะอาด = 3.17 , 3.07 และ ไม่แตกต่าง



14.
ภาพลักษณ์ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

14.1. สปา/การนวด = 4.14 , 4.03 และ 95 %
14.2. ช็อปปิ้ง = 3.90 , 3.80 และ 90 %
14.3. ชีวิตยามราตรี = 3.85 , 3.78 และ ไม่แตกต่าง
14.4. อาหาร = 4.05 , 4.01 และ ไม่แตกต่าง


16.
การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการท่องเที่ยวกลุ่มก่อนและกลุ่มหลังปิดสนามบิน



17.
ความพึงพอใจในสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

17.1. แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอื่นๆ = 3.72 , 3.88 และ 99 %
17.2. แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก = 3.62 , 3.74 และ 95 %
17.3. ทะเล ชายหาด = 3.79 , 3.90 และ 90 %
17.4. สภาพอากาศ = 3.73 ม 3.77 และ ไม่แตกต่าง
17.5. แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ อื่นๆ = 3.71ม 3.71 และ ไม่แตกต่าง


18.
ความพึงพอใจในกิจกรรมเสริมการท่องเที่ยว

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

18.1 ชีวิตยามราตรี = 3.54, 3.66 และ 90 %
18.2 สปา / การนวด = 3.97 , 4.01 และ ไม่แตกต่าง
18.3 อาหาร = 3.94 , 3.91 และ ไม่แตกต่าง
18.4 ช็อปปิ้ง = 3.77, 3.74 และ ไม่แตกต่าง


19.
ความพึงพอใจในด้านบริการ / สาธารณูปโภค

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

19.1 การคมนาคมสื่อสาร = 3.75 , 3.27 และ 99 %
19.2 ความปลอดภัย = 3.82 , 3.48 และ 99 %
19.3 ความสะอาด = 3.59 , 3.28 และ 99%
19.4 คุ้มราคา = 3.93 , 3.75 และ 99 %
19.5 ที่พัก = 3.90 , 3.83 และ ไม่แตกต่าง
19.6 ผู้คน = 4.12 , 4.07 และ ไม่แตกต่าง


20.
การเปรียบเทียบคุณค่าที่นักท่องเที่ยวได้รับช่วงก่อน และ หลังการปิดสนามบิน


21.
คุณค่าที่นักท่องเที่ยวได้รับ

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

21.1 ยินดีจ่ายเพื่อกลับมาอีกครั้ง = 4.18 , 3.72 และ 99 %
21.2 คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป = 4.16 , 3.81 และ 99 %
21.3 ประสบการณ์ที่คุ้มค่า = 4.17 , 3.87 และ 99 %
21.4 คุ้มค่า กับ เงินที่จ่าย = 3.96 , 3.72 และ 99 %


22.
การเปรียบเทียบความพึงพอใจรวมต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย ช่วงก่อน และ หลังการปิดสนามบิน


23.
ความพึงพอใจรวม

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

23.1 ดีกว่าที่คาดหวัง = 3.89 , 3.40 และ 99 %
23.2 พอใจที่เลือกมาเที่ยวประเทศไทย = 4.24 , 3.86 และ 99 %
23.3 ได้รับความพากเพียร = 4.36 , 4.03 และ 99 %


24.
การเปรียบเทียบความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย ช่วงก่อนและหลังการปิดสนามบิน


25.
ความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

25.1 จะแนะนำให้เพื่อนและครอบครัวมาเที่ยว = 4.38 , 3.87 และ 99 %
25.2 จะกลับมาเที่ยวอีกครั้งอย่างแน่นอน = 4.12 , 3.67 และ 99 %
25.3 ต้องการกลับมาเที่ยวอีกครั้ง = 4.26 , 3.90 และ 99 %
25.4 จะกลับมาประเทศไทยเพราะธุรกิจหรืองานที่เกี่ยวข้อง = 3.32 , 3.08 และ 99 %


26. นักท่องเที่ยวที่จะกลับมาประเทศไทย

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต

26.1 จะกลับประเทศไทยเพราะธุรกิจ หรือ งานที่เกี่ยวข้อง = 47.8, 36.0
26.2 ต้องการกลับมาเที่ยวอีกครั้ง = 87.8 , 71.9
26.3 จะกลับมาเที่ยวอีกครั้งอย่างแน่นอน = 78.4 , 58.0
26.4 จะแนะนำให้เพื่อนและครอบครัวมาเที่ยว = 91.8 , 71.1

์N = 245, 495


27.
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

27.1 มีตัวแปรที่สังเกตได้จำนวน 19 ตัวแปร เป็นตัวแปรอิสระ 5 ตัวแปร ตัวแปรตาม 14 ตัวแปร

27.2 มีตัวแปรแฝงจำนวน 5 ตัวแปร

* ตัวแปรอิสระ 1 ตัวแปร ได้แก่ ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว

* ตัวแปรตาม 4 ตัวแปร ได้แก่

:- ความพึงพอใจในคุณลักษณะต่างๆของแหล่งท่องเที่ยว
:- คุณค่าที่ได้รับจากการท่องเที่ยว
:- ความพึงพอใจโดยรวมที่เกิดจากการท่องเที่ยว
:- ความจงรักภักดีที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยว


28.-30

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

Latent Variable (ตัวแปรแฝง)

1. Destination Image (DI) :

2. Attribute Satisfaction (ATTRI_S):

3. Perceived Value (PV)

4. Overall Satisfaction (OVS)

5. Destination Loyalty (DL)


28.
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

Latent Variable (ตัวแปรแฝง)

1. Destination Image (DI) :

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1.1 Attractions Nature (ATT_N)

Question

1. Beautiful beaches and clear sky
2. Other beatiful natural attractions

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1.2 Attractions Man Made (ATT_MM)

Question

4. Wide - variety of cultural attractions
5. Delicious food
14. Very reasonable prices

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1.3 Entertainment (ENTER)

Question

6. Colorful nightlife
7. Great shopping
8. Relaxing massage / spa


Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1.4 Atmosphere (ATMO)

Question

3. Relaxing way of life
9. Wonderful people
10. High quality service

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1.5 Environment (ENV)

Question

11. Very clean
12. Very safe
13. Efficient & reliable transportatiom / communication



29.
Latent Variable

2. Attribute Satisfaction (ATTRI_S)

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1. Attraction Nature (ATT_N)

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

Question

1. Sun and sea
2. Other natural attractions
3. Weather

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

2.Attractions Man made (ATT_MM)

Question

4. World heritage sites
5. Other cultural attractions
6. Food

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

3. Entertainment (ENTER)

Question

7. Night life
8. Shopping
9. Massage / spa

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

4.Facility

Question

11. Accommodation
12. Cleanliness
13. Safety


30.
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

Latent Variable

1. Percieved Value (PV)

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1. Value for money (VM)

Question

1. This trip to Thailand was good value for money

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

2. Used of my time (UT)

Question

2. This trip to Thailand was a good used of my time


Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)


3. Worth while experirnce (WE)

Question

3. Thailand offered a worth while tourism experience

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

4. Will pay to come again (WPC)

Question

4. I will to come to Thailand for a vocation again


Latent Variable

2. Overall Satisfaction (OVS)

Observw Variable

1. OVSI-OVS3

Question

1. Overall, I enjoyed my trip to Thailand
2. Overall, my satisfaction with this trip is greater than my expectation
3. I am satisfied with my decision to select Thailand as my travel destination


Latent Variable

1. Destination Loyalty (DL)

Observe Variable

1. DL1 -DL3

Question

1. I would like to visit Thailand again
2. I will definitely revisit Thailand for another vocation
3. I will recommed Thailand as a travel destination to my friends and family


31.
ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐาน (ก่อนเหตุการณ์ปิดสนามบิน)


32.
ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐาน (ช่วงเหตุการณ์ปิดสนามบิน)

33.
ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐาน (หลังปิดสนามบิน แต่ก่อนสงกรานต์เลือด)

34.
ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐาน (เหตุการณ์สงกรานต์เลือด)


35.
ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐาน (หลังสงกรานต์เลือด)

36.
ค่าสถิติความสอดคล้อง


อภิปรายผลการศึกษา

1. บรรยากาศ และ สภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว เช่น การใช้ชีวิตที่ผ่อนคลาย, ความสนุกสนาน และ ความน่ารักของคน และ คุณภาพในการบริการที่ดี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวของไทย

2. ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวมีอิทธิพล โดยตรงต่อความพึงพอใจและคุณค่าที่ได้รับ นอกจานนี้ยังมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อความจงรักภักดีต่อแหล่งท่องเที่ยว


38.
อภิปรายผลการศึกษา

1. ก่อนเหตุการณ์ปิดสนามบิน / เหตุการณ์ปิดสนามบิน

:แบบจำลองปกติ โดยสภาพบรรยากาศเป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่ช่วงปิดสนามบินสภาพแวดล้อมเริ่มมีน้ำหนักมากขึ้น และ ภาพลักษณ์มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจรวมในทางลบ

2. หลังปิดสนามบินแต่ก่อนสงกรานต์เลือด/เหตุการณ์สงกรานต์เลือด

:แบบจำลองใหม่ โดยภาพลักษณ์จะมีอิทธิพลโดยตรงต่อความจงรักภักดี และ สภาพแวดล้อมลอความสำคัญลงก่อนที่จะกลับมาเพิ่มอีกครั้งในช่วงเหตุการณ์สงกรานต์เลือด

3. หลังสงกรานต์เลือด

:แบบจำลองปกติ แต่ภาพลักษณ์มีผลต่อ ATTRI_S มาก และ สภาพแวดล้อมยังคงมีน้ำหนักความสำคัญเพิ่มขึ้น


39.
สรุปผลการศึกษา

1. เหตุการณ์วิกฤติการณ์ทางการเมือง ได้ทำให้ภาพลักษณ์ทางด้านการท่องเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลง และ ยังคงมีอิทธิพลไปถึงความจงรักภักดีที่มีต่อการท่องเที่ยวของไทย

2. ไม่ว่าจะถึงเหตุการณ์วิกฤติใดๆ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมของความเป็นไทย ยังคงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวของไทย

3. เหตุการณ์วิกฤติการณ์ทางการเมือง ได้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ในการท่องเที่ยวของไทยในช่วงสั้นๆ แสดงว่า การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลง

24.
ขอบคุณ

Source: เอกสารประกอบการสัมมนา "วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย"





09973. ภาพในวันสัมมนา

ท่านผู้เข้าร่วมประชุมท่านหนึ่ง ได้แสดงความเห็นไว้ จับใจความส่วนหนึ่งได้ว่า

1.กลุ่มประชากรที่ตอบแบบสอบถาม กล่าวคือ ก่อนเหตุการณ์ปิดสนามบิน และ ระหว่างการปิดสนามบิน หรือ หลังการปิดสนามบิน หรือ สงกรานต์เลือด นั้นเป็นกลุ่มประชากรคนละกลุ่มกัน

ดังนั้นในการเปรียบเทียบกันควรคำนึงถึงกลุ่มประชากรที่เป็นคนละกลุ่มกันด้วย

และ ท่านผู้เข้าร่วมประชุมอีกท่านหนึ่งได้แสดงความเห็นที่น่าสนใจดังนี้

2. หญิงสาวที่สวย ก็ยังคง "สวย" อยู่เสมอไม่ว่าจะผ่านเหตุการณ์อย่างไรมาก็ตาม ก็ยังดูอย่างไร หรือ ยังไง ก็ยัง คง "สวย" เสมอ

ประเทศไทย เปรียบเทียบได้ กับ "หญิงสาวสวย" คนนั้น ที่ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีภาพลักษณ์ที่มองดู "สวยงาม"




Moonfleet ได้เข้ามาร่วม "ฟัง" การประชุมทางวิชาการเรื่อง วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย และ มีความเห็นด้วยในเรื่อง

1. กลุ่มประชากรที่ตอบแบบสอบถามคนละกลุ่มกัน การเปรียบเทียบควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในการสรุปผล

2. ประเทศไทย เปรียบเทียบได้กับ สาวงาม ถึงจะผ่านเหตุการณ์ หรือ วิกฤตการณ์อย่างไรก็ตาม เธอก็ยังคงดูสวยอยู่เสมอ

3. ในโลกแห่งความเป็นจริงไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นก็ตาม เหตุการณ์นั้นๆก็จะมีการปรับตัวเข้าหา "จุดดุลยภาพ" เสมอ


ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ ศ.ดร .มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และ ทีมงานของท่าน ที่ได้กรุณาถ่ายทอดความรู้ที่ได้มาจากผลงานการวิจัยในครั้งนี้ ให้แก่ผู้ร่วมเข้าฟังการสัมมนาได้รับความรู้มากมาย ในครั้งนี้ด้วยครับ




ประเทศไทยเปรียบเทียบได้กับสาวงาม นาม "คาร์เมน"
Moonfleet ว่าเองนะครับ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2. วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย ความสูญเสียจากวิกฤตท่องเที่ยว


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

3. การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวตลาดใหม่ และ ตลาดเดิม

การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวตลาดใหม่(เน้นจีนและเอเชีย) และ ตลาดเดิม (เน้นยุโรป)




9974. ภาพประกอบเืพื่อความสวยงาม จากวันประชุม

จาก เอกสารแนบ 3.

การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวตลาดใหม่(เน้นจีนและเอเชีย) และ ตลาดเดิม (เน้นยุโรป)

โดย ศ.ดร. มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด


2.
ความสำคัญของกลุ่มตลาดที่ใช้ในการศึกษา


3.
จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2540 -2551 จำแนกตามทวีป

#1. เอเชียตะวันออก
#2. ยุโรป

จำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น


4.
จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2540 -2551 จำแนกตามประเทศ

#1. ญี่ปุ่น
#2. เกาหลีใต้
#3. จีน
#4. เยอรมัน
#5. ฝรั่งเศส

5.
อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยว จำแนกตามประเทศ
จำนวนนักท่องเที่ยวเฉลี่ย ในปี 2540-2552

#1. ญี่ปุ่น 1,036,853 คน หรือ 10.10 %
#2. จีน 906,374 คน หรือ 8.83 %
#3. เกาหลีใต้ 560,516 หรือ 5.46
#4. เยอรมัน 508,256 หรือ 4.95 %
#5. ฝรั่งเศส 332,910 หรือ 3.24 %

รวม 10,267,012 คน


6.
ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง

ตลาดใหม่ (จีน /เกาหลีใต้)
1.เพศชาย: 51.3 / 56.6
2.กลุ่มอายุ 30-39 ปี : 36.0 / 28.3
3.อาชีพ: พนักงานบริษัท 28.9 / พนักงานขาย 24.9
4. รายได้ ($US/คน/ปี): 18,211 / 36,200
5.N : 519 / 389

ตลาดเก่า (ญี่ปุ่น /ฝรั่งเศส / เยอรมัน)
1.เพศชาย: 63.0 /60.5/67.6
2.กลุ่มอายุ 30-39 ปี : 46.4/33.0/29.9
3.อาชีพ: นักเรียน 33.1 / พนักงานบริษัท 22.9 / พนักงานบริษาัท 20.9
4. รายได้ ($US/คน/ปี): 47,836 / 44,834,47,645
5.N : 513 / 415 / 441


7.
ลักษณะทริป
รายการ ตลาดใหม่/ตลาดเก่า
รายการ จีน /เกาหลีใต้/ญี่ปุ่น/ฝรั่งเศส/เยอรมัน

1.รูปแบบการเดินทาง: GROUP 60.7/ FIT 67.6/ FIT 76.4/FIT 92.3/FIT 96.6
2.กลุ่มนักท่องเที่ยวซ้ำ: 35.8 / 45.0 /49.7 / 46.5 / 59.6
3.N:519 / 389 /513 / 415 /441


8.
วัตถุประสงค์หลัก 5 อันดับแรก

จีน
1. พักผ่อน 64.7%
2. ปฏิบัติราชการ 7.1%
3. เรียน 6.6 %
4. ประชุม 5.4 %
5. ติดต่อธุรกิจ 4.2 %
N=519

เกาหลีใต้
1. พักผ่อน 51.1
2.ประชุม 11.3
3. ติดต่อธุรกิจ 10.0
4. ฮันนีมูน 9.5
5. เยี่ยมญาติ 4.3
์N=389

ญี่ปุ่น
1.พักผ่อน 66.3
2. ติดต่อธุรกิจ 13.8
3. เยี่ยมญาติ 8.8
4. เรียน 2.3
5. ประชุม 1.9
N=513

ฝรั่งเศส
1. พักผ่อน 83.6
2. เยี่ยมญาติ 6.0
3. ติดต่อธุรกิจ 2.9
4. ฮันนี่มูน 2.2
5. เรียน 1.2
N=415

เยอรมัน
1. พักผ่อน 73.5
2. เยี่ยมญาติ 13.2
3. เรียน 3.4
4. ติดต่อธุรกิจ 3.1
5. ฮันนี่มูน 1.1
N=441

*หมายเหตุ:
จากการอภิปราย กรณีของฝรั่งเศส และ เยอรมัน ในเรื่องการ "เยี่ยมญาติ" กล่าวคือ สาวไทยแต่งงานกับชาวต่างประเทศ หรือ ชาวต่างประเทศทีเป็น"ลูกเขย" พาครอบครัวมาเยี่ยมญาติ ทางฝ่าย "ภรรยา"


9.
ประเทศที่เลือกไปเยือนแทนประเทศไทย 3 อันดับแรก

จีน
1. มาเลเชีย 18.8
2. เวียดนาม 14.1
3. สิงคโปร์ 11.5
N=519

เกาหลีใ้ต้
1. ฮ่องกง 19.5
2. สิงคโปร์ 15.2
3. กัมพูชา 14.7
N=389

ญี่ปุ่น
1. สิงคโปร์ 17.5
2. เวียตนาม 15.6
3. ฮ่องกง 13.3
N=513

ฝรั่งเศส
1. เวียตนาม 26.3
2. มาเลเซีย 13.5
3. อินเดีย 12.0
N=415

เยอรมัน
1. เวียตนาม 27.9
2. มาเลเซีย 14.7
3. ลาว 10.2
N=441


10.
ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวประเทศไทย
รายการ / จีน /เกาหลีใต้/ญี่ปุ่น/ฝรั่งเศส/เยอรมัน
1.ค่าใช้ทั้งหมดที่ใช้ในประเทศไทย ($US/คน/วัน) 291, 384, 334,243, 164
2.จำนวนคืนที่พักในประเทศไทย(คืน) 7.8 ,7.9,7.0,18.7,20.0


11.
ภาพลักษณ์ที่ได้คะแนนสูงสุด 5 ภาพลักษณ์แรก (ค่าเฉลี่ย)

ลำดับที่ / จีน / เกาหลีใต้ / ญี่ปุ่น / ฝรั่งเศส / เยอรมัน

จีน
1. หาดสวยฟ้าใส 4.13
2. ความรู้สึกผ่อนคลาย 4.02
3. ชีวิตยามราตรี 4.02
4. สปา/การนวด 3.99
5. ผู้คนเป็นมิตร 3.94
N=519

เกาหลีใต้
1. สปา/การนวด 4.02
2. หาดสวยฟ้าใส 3.79
3. ธรรมชาติอื่นๆ 3.76
4. วัฒนธรรมหลากหลาย 3.71
5. ชีวิตยามราตรี 3.67
N=389

ญี่ปุ่น
1. สปา/การนวด 4.08
2. คุ้มราคม 3.77
3. ผู้คนเป็นมิตร 3.74
4. ความรู้สึกผ่อนคลาย 3.70
5. ธรรมชาติอื่นๆ 3.66
N=513

ฝรั่งเศส
1. หาดสวยฟ้าใส 4.34
2. สปา/การนวด 4.27
3. ธรรมชาติอื่นๆ 4.25
4. ผู้คนเป็นมิตร 4.23
5. อาหารอร่อย 4.12
N=415

เยอรมัน
1.หาดสวยฟ้าใส 4.24
2. อาหารอร่อย 4.24
3. ธรรมชาติอื่นๆ 4.16
4. ผู้คนเป็นมิตร 4.12
5. คุ้มราคา 4.05
N=441


12. ร้อยละของผู้ตอบภาพลักษณ์ 5 อันดับแรก

ลำดับที่ / จีน / เกาหลีใต้ / ญี่ปุ่น / ฝรั่งเศส / เยอรมัน

จีน
1. หาดสวยฟ้าใส 79.6
2. ความรู้สึกผ่อนคลาย 78.4
3. ชีวิตยามราตรี 76.3
4. สปา/การนวด 75.0
5. ผู้คนเป็นมิตร 71.7
N=519

เกาหลีใต้
1. สปา/การนวด 74.0
2. หาดสวยฟ้าใส 66.6
3. ธรรมชาติอื่นๆ 65.8
4. วัฒนธรรมหลากหลาย 62.2
5. ชีวิตยามราตรี 58.1
N=389

ญี่ปุ่น
1. สปา/การนวด 70.6
2. คุณภาพการบริการ 58.7
3. ความรู้สึกผ่อนคลาย 58.1
4. ธรรมชาติอื่นๆ 56.1
5. อาหาร 54.0
N=513

ฝรั่งเศส
1. หาดสวยฟ้าใส 86.5
2. ธรรมชาติอื่นๆ 86.3
3. ผู้คนเป็นมิตร 83.1
4. คุ้มราคา 82.4
5. สปา/การนวด 80.5
N=415

เยอรมัน
1. หาดสวยฟ้าใส 84.4
2. ธรรมชาติอื่นๆ 82.5
3. อาหารอร่อย 82.3
4. คุ้มราคา 80.5
5. ผู้คนเป็นมิตร 76.6
N=441


13.
ร้อยละของผู้ตอบภาพลักษณ์ที่ได้คะแนนต่ำสุด 5 อันดับแรก

ลำดับที่ / จีน / เกาหลีใต้ / ญี่ปุ่น / ฝรั่งเศส / เยอรมัน

จีน
1. ความสะอาด 17.7
2. การคมนาคมขนส่ง 39.8
3. ความปลอดภัย 50.5
4. อาหารอร่อย 10.7
5. ช็อปปิ้งค์ 6.6
N = 519

เกาหลีใต้
1. การคมนาคมขนส่ง 42.4
2. ความสะอาด 41.9
3. ความปลอดภัย 34.7
4. ความคุ้มราคา 27.5
5. ผู้คนเป็นมิตร 24.2
N = 389

ญี่ปุ่น
1. ความปลอดภัย 50.5
2. การคมนาคมขนส่ง 39.8
3. คุ้มราคา 29.2
4. สะอาด 17.7
5. อาหารอร่อย 10.7
N = 513


ฝรั่งเศส
1. สะอาด 23.1
2. พักผ่อน 14.5
3. คมนาคมขนส่ง 11.1
4. คุณภาพการบริการ 6.5
5. ปลอดภัย 5.8
N=415


เยอรมัน
1.สะอาด 30.4
2. ปลอดภัย 16.8
3. คุณภาพการบริการ 12.7
4. การคมนาคมขนส่ง 11.3
5. ความรู้สึกผ่อนคลาย 6.3
N=441


14.
ปัจจัยสำคัญในการวางแผนมาประเทศไทย 5 อันดับแรก

ลำดับที่ / จีน / เกาหลีใต้ / ญี่ปุ่น / ฝรั่งเศส / เยอรมัน

จีน
1. คุ้มราคา 64.7
2. ความปลอดภัย 64.5
3. ความสะอาด 56.3
4. การคมนาคม 53.9
5. ที่พัก 48.7
N = 519

เกาหลีใต้
1. ความปลอดภัย 67.4
2. คุ้มราคา 59.1
3. ความสะอาด 57.8
4. ที่พัก 54.5
5. การคมนาคม 52.4
N = 389

ญี่ปุ่น
1. ความปลอดภัย 62.0
2. คุ้มราคา 55.0
3. อาหาร 49.5
4. ผู้คน 49.3
5. การคมนาคม 44.6
N=513

ฝรั่งเศส
1. คุ้มราคา 72.5
2. สภาพอากาศ 70.8
3. ผู้คน 67.0
4. ความปลอดภัย 63.1
5. ชายทะเล 60.7
N=415

เยอรมัน
1. สภาพอากาศ 64.6
2. คุ้มราคา 57.8
3. ชาดหาดทะเล 57.8
4. ความปลอดภัย 55.8
5. ผู้คน 52.4
N = 441


15.
สิ่งที่นักท่องเที่ยวพึงพอใจมากที่สุด 5 อันดับแรก

ลำดับที่ / จีน / เกาหลีใต้ / ญี่ปุ่น / ฝรั่งเศส / เยอรมัน

จีน
1. ชาดหาดทะเล 71.3
2. สปา / การนวด 61.5
3. ชีวิตยามราตรี 59.3
4. มรดกโลก 55.5
5. ธรรมชาติอื่นๆ 54.1
N= 519

เกาหลีใต้
1. สปา/ การนวด 67.1
2. ชายหาดทะเล 56.6
3. ที่พัก 55.5
4. ธรรมชาติอื่นๆ 54.8
5. ผู้คน 50.6
N=389

ญี่ปุ่น
1. ผู้คน 61.8
2. คุ้มราคา 61.6
3. สปา/การนวด 59.6
4. อาหาร 56.3
5.มรดกโลก 54.0
N = 513

ฝรั่งเศส
1. ภูมิอากาศ 83.1
2. ผู้คน 81.4
3. คุ้มราคา 76.6
4. อาหาร 74.5
5. ชายหาดทะเล 73.0
N=415

เยอรมัน
1. ผู้คน 78.7
2. ภูมิอากาศ 77.8
3. คุ้มราคา 76.0
4. อาหาร 75.1
5. ชายหาดทะเล 68.5
N=441

16.
การเปรียบเทียบความพึงพอใจกับการให้ความสำคัญในสิ่งดึงดูดใและการบริการทางการท่องเที่ยว

*ผู้บรรยายให้ความรู้เพิ่มเติมว่า

คำถามที่ เป็น Negative ฝรั่งจะไม่ตอบเพราะไม่สุภาพ
แต่ คนจีน ใส่เต็มที่เลย

17.
สิ่งดึงดูดใจและด้านบริการของการท่องเที่ยวไทยเกือบทุกด้านตกอยู่ในพื้นที่ ดีตรงจุด


18.
ความสะอาด

:ด้านความสะอาด เป็นเพียงด้านเดียวที่การท่องเที่ยวไทยไม่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเทีียวญี่ปุ่นได้

19.
ความคุ้าค่าจากการเยือนประเทศไทยคร้้งนี้


20. ความคุ้มค่าจากการเยือนประเทศไทยครั้งนี้


สรุป

1. ตลาดฝรั่งเศส เยอรมัน มีความพึงพอใจสูงกว่าเอเชีย
2. ในตลาดเอเชียญี่ปุ่น ยังเป็นตลาดที่มั่นคงที่สุด

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย
ความสูญเสียจากวิกฤตท่องเที่ยว

1.
จาก เอกสารแนบที่ 2

อนันต์ วัฒนกุลจรัส
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาับันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ณ หอประชุมอาคารรวมวิจัย และ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9 กันยายน พ.ศ.2552


2.
การนำเสนอ
1. ความเป็นมา
2. วิธีการศึกษา
3. ผลการศึกษา
4. บทสรุป
5. ข้อเสนอแนะงานวิจัย






09971. ภาพประกอบคำบรรยายจากวันสัมมนาทางวิชาการ


3.
(1). ความเป็นมา วิกฤตท่องเที่ยว และ การคาดการณ์ผลกระทบ


4.
ความไม่แน่นอนของการท่องเที่ยวไทย
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรายไตรมาส ปี 1997 -2009


5.
สถานการณ์อย่างไร จึงเป็น....วิกฤตท่องเที่ยว

1. มุมมองและข้อมูลของแต่ละบุคคล

1.1 ตัวชี้วัด
1.2 ปริมาณ
1.3 คุณภาพ
1.4 ระยะเวลา
1.5 อื่นๆ


6.
สถานการณ์อย่างไร จึงเป็น...วิกฤตท่องเที่ยว
ขึ้นอยู่กับมุมมอง และ ข้อมูลของแต่ละบุคคล

ตัวชี้วัด / คุณภาพ / ปริมาณ / ระยะเวลา

1. จำนวนนักท่องเที่ยว
:คนไทย, คนต่างชาติ

2. การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว รายได้จากการท่องเที่ยว
:คนไทย, คนต่างชาติ ,สินค้า, บริการ, วันพักแรม

3 การดำเนินงานของผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยว
:การผลิต, การจอง, ผลกำไร, ผลขาดทุน, การเลิกกิจการ

4.กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
: มูลค่าเพิ่ม, การจ้างงาน, การใช้ทุน, การเติบโตทางเศรษฐกิจ

ปริมาณ
:ชะลอ หรือ ลดลง 10 %, 15 %, 30 %

ระยะเวลา
: ติดต่อกัน 3 เดือน, 2 ไตรมาส, 1 ปี หรือ 2 ปี


7.
ผลกระทบจากการท่องเที่ยว

1. การท่องเที่ยวเป็นแรงขับเคลื่อนด้านอุปสงค์ (Demend driven approach)
2. ผลกระทบโดยตรงต่อกิจการท่องเที่ยว และ มูลค่าเพิ่มของกิจการนั้นๆ
3. ผลกระทบโดยอ้อมต่อกิจการและมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่อุปทานท่องเที่ยว
4. ผลกระทบจากรายได้ของมูลค่าเพิ่มในกิจการที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อม
5. ผลกระทบที่มีการซื้อขายผ่านตลาด เช่น ผลผลิต วัตถุดิบ
6. ผลกระทบที่มีการซื้อขายผ่านตลาด เช่น ผลผลิต วัตถุดิบ

Value = Price * Quantity

dV/dV = dP/dP + dQ/dQ.

7. ผลกระทบที่ไม่มีการซื้อขายผ่านตลาด เช่น สิ่งแวดล้อม ภาพลักษณ์


8.
ตัวอย่างผลกระทบจากการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยว
มีผลกระทบโดยตรงต่อ
1.การขนส่ง , 2.โรงแรม , 3. ร้านอาหาร

มีผลกระทบโดยตรงต่อ
1.กำไร,2.แรงงาน, 3.ทุน

มีผลกระทบต่อรายได้
1.ธุรกิจค้าปลีก, 2.เครื่องใช้ไฟฟ้า, 3.สิ่งทอ, 4.อาหารและเครื่องดื่ม


การท่องเที่ยว
มีผลกระทบโดยอ้อม ต่อ
1.การบริหารส่วนบุคคล, 2.ผลิตผลเกษตรแปรรูป, 3.อสังหาริมทรัพย์

ผลกระทบโดยอ้อม
1.กำไร,2.แรงงาน, 3.ทุน

มีผลกระทบต่อรายได้
1.ธุรกิจค้าปลีก, 2.เครื่องใช้ไฟฟ้า, 3.สิ่งทอ, 4.อาหารและเครื่องดื่ม


9.

ผลกระทบภายนอกด้านเศรษฐกิจ
1. การแข็งค่าของค่าเงินบาท
2. วิกฤตการณ์ราคาน้ำมันแพง
3. การถดถอยของเศรษฐกิจโลก

ผลกระทบภายนอกด้านความปลอดภัย
1.การก่อการร้าย
2.ภัยสงคราม
3. ความไม่สงบภายในประเทศ
4. โรคระบาด
5. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

การคาดการณ์

1.จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ลดลง
2. การลด /การชะลอการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ
3. การลดวันพักแรมของนักท่องเที่ยว การลดปริมาณการจับจ่ายใช้สอย

ผลกระทบ

ภาพรวมกิจกรรมการท่องเที่ยวไทย
:ผลการดำเนินงานของกิจการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม การเดินทางขนส่ง ร้านอาหาร การบันเทิง การบริการส่วนบุคคล ฯลฯ

ผลกระทบ

ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศ
:การจ้างงาน ค่าจ้างแรงงาน การปรับราคาสินค้าและบริการ การเลิกกิจการ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ฯลฯ


10.
ตัวอย่างการคาดการณ์
มุมมองที่หลากหลายต่อวิกฤตท่องเที่ยวไทย จากตัวแทนหลายสำนัก เช่น

:1. สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว
:2. สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย
:3. สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
:4. สมาคมโรงแรมไทย
:5. สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว
:6. การบินไทย
:7. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
:8. ธนาคารแห่งประเทศไทย
:9. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
:10. สนง.พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
:11. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เป็นการคาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากอุปสงค์ท่องเที่ยวที่ลดลง เช่น จำนวนนักท่องเที่ยว หรือ รายได้จากการท่องเที่ยวทีลดลง


11.
ตัวอย่างการคาดการณ์

ผลกระทบภายนอก
:ปัญหาทางการเมือง ราคาน้ำมันที่ผันผวน วิกฤตการเงินโลก การหดตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก โรคระบาด ฯลฯ

คาดการณ์
: จำนวนนักท่องเทีี่ยวต่างชาติ :- คาดว่าลดลง 2.5 -3.5 และ อาจมากถึง 5-6ล้านคน จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าพักโรงแรมคาดว่าลดลง 15-40 %

ภาพรวมการท่องเที่ยวไทย
:มูลค่าการสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว 42,000 - 76,000 และ อาจมากถึง 100,000 - 146,000 ล้าน บาท

ผลกระทบ
:ภาพรวมเศรษฐกิจประทศ :- แรงงานในภาคการท่องเที่ยวอาจถูกเลิกจ้าง 1 -1.2 ล้านคน อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจหดหายไปร้อยละ 1 ถึง 2



12.
ตัวอย่างงานวิจัยที่ผ่านมา

* การสำรวจและสัมภาษณ์ธุรกิจโรงแรมในตรุกรีเกี่ยวกับการรับรู้ การเตรียมการรับมือ และ ปฏิกิริยาต่อวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปี 2001
(Okumus and Karamustafa,2005)

* การใช้เทคนิคทางเศรษฐมิติ Auto-Regression Distributed Lag (ARDL) เพื่อดูผลกระทบของวิกฤตการณ์ระหว่างปี 1997 -2003 (Asian financial crisis, earthquake, 9-11, SARS) ต่อจำนวนนักท่องเที่ยวไต้หวัน (Wang,2008)

*การใช้แบบจำลองดุลยภาพทางเศรษฐกิจทั่วไป (CGE Model)

# ผลกระทบของวิกฤตท่องเที่ยวไต้หวันจากโรค SARS (Yang and Chen,2009)

# ผลกระทบของนโยบายการแก้ไขวิกฤตท่องเที่ยวสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเหตุการณ์ 9-11 (Blake and Sinclair,2003)


13.
อุปสรรคในการระบุวิกฤตท่องเที่ยว และ คาดการณ์ผลกระทบ

# ยากที่จะระบุได้ว่า สถานการณ์์ใดถึงขึ้นเป็นวิกฤตท่องเที่ยวแล้ว

# ยากที่จะระบุได้ว่า วิกฤตท่องเที่ยวมีสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร

- โดยเฉพาะในช่วงปีที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบันที่ประเทศไทยประสบปัญหาทั้งน้ำมันแพง เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ความไม่สงบทางการเมือง โรคระบาด ค่าเงินบาทแข็ง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน ฯลฯ

# ยากที่จะคาดการณ์ผลกระทบที่แท้จริง อันเนื่องจากวิกฤตท่องเที่ยวนั้นๆ

- โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการท่องเที่ยวมีขนาดใหญ่และมีความเชื่อมโยงกับกิจกรรมต่างๆมากมาย ผลกระทบจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงกิจกรรมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยตรงเท่านั้น



14.
คำถามวิจัย และ วัตถุประสงค์การวิจัย

* สถานการณ์ใดถึงขึ้นเป็นวิกฤตท่องเที่ยว => การหดตัวของการท่องเที่ยวที่ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง ร้อยละ 1

* วิกฤตท่องเที่ยวมีสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร => ไม่จำเป็นต้องระบุ

หมายเหตุ
:Moonfleet มีความเห็นว่า สาเหตุที่แท้จริงของวิกฤตท่องเที่ยวนี้มีความจำเป็นที่ควรจะต้องระบุ เพราะว่าถ้าไม่ทราบสาเหตุแห่งการเป็น"วิกฤตการณ์"แล้ว การวินิจฉัยเพื่อรักษา หรือ การแก้ปัญหานั้นอาจจะไม่ถูกต้องได้

(ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ....)


* ผลกระทบอันเนื่องจากวิกฤตท่ิองเที่ยว => ใช้แบบจำลองที่สะท้อนภาพรวมของทั้งระบบเศรษฐกิจ

* คำถามวิจัยแบบย้อนกลับ (Counterfactual research question) ->

<> การท่องเที่ยวไทยต้องถดถอยเท่าไร จึงจะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศลดลงไปร้อยละ 1 และ จะก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมอย่างไรบ้าง


15.
วิธีการศึกษา ข้อมูลและแบบจำลองสถานการณ์

:แบบจำลองดุลยภาพทางเศรษฐกิจทั่วไป ที่มีบัญชีทางสังคมเป็นฐานข้อมูลหลัก (Social accounting matrix Computable general equilibrium model)



16.
ข้อมูล

# ฐานข้อมูลหลักประยุกต์มาจากตารางบัญชีทางสังคม (Social accounting matrix,SAM) ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI,20004)

# ค่าพารามิเตอร์ (Parameters) ต่างๆ รวบรวมมาจากแหล่งงานวิจัยอื่นๆ ได้แก่ Sarntisart (1993), Warr et al.(1993), Sussangkarn and Kumar (1997), TDRI (2004) ฉ,ธ Horridge (2005)

# โปรแกรม GEMPACK (General Equilibrium Modeling Package) ซึี่งออกแบบโดย Harrison and Pearson (1996) และ Horridge (2005)


17.
แบบจำลอง

* โครงสร้างมาตรฐานของแบบจำลองเศรษฐกิจแบบดุลยภาพทั่วไปที่มีตารางบัญชีทางสังคมเป็นฐานข้อมูลหลักประยุกต์มาจากงานวิจัยของ Lofgren, Harris and Robinson (2001)

* แนวทางการพัฒนาปรับปรุงแบบจำลองเพื่อให้มีองค์ประกอบของภาคการท่องเที่ยวในงานวิจัยนี้

# อุปทานการท่องเที่ยว
# อุปสงค์การท่องเที่ยว


18.
แบบจำลอง

อุปทานการท่องเที่ยว

:อุปทานการท่องเที่ยวประกอบไปด้วยกิจการรายสาขาต่างๆ ที่ประกอบกันด้วยสัดส่วนที่คงที่ตามตัวแบบ Fixed proportion หรือ Leontief function เพื่อสะท้อนว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวเป็นแบบเพ็จเกจ (Package) นั่นคือ นักท่องเที่ยว ไม่สามารถใช้โรงแรมทดแทนอาหาร ใช้อาหารทดแทนยานพาหนะ ใช้ยานพาหนะทดแทนนันทนาการได้ ฯลฯ


19.
แบบจำลอง

อุปสงค์การท่องเที่ยว

:อุปสงค์การท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทย (Domestic tourism) ประมาณการได้จาก สัดส่วนการบริโภคการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวโดยใช้ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนที่เกี่ยวกับโรงแรมเป็นตัวตั้ง ทั้งนี้เพราะค่าใช้่จ่ายด้านโรงแรมมีความเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมากที่สุดเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ


:อุปสงค์การท่องเที่ยวต่างประเทศของคนไทย (Outbound tourism) กำหนดให้เป็นฟังก์ชั่นของรายได้ของครัวเรือนที่เหลือหลังจากหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา



20.
แบบจำลอง

*อุปสงค์การท่องเที่ยวภายในประเทศไทยของคนต่างชาติ (Inbound tourism)

เป็นส่วนหนึ่งของอุปสงค์ขั้นสุดท้ายของระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการส่งออก แต่ต่างกันที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะต้องทำการแลกเปลี่ยนเงินตราและจะต้องเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อบริโภคสินค้าและบริการท่องเที่ยวโดยตรง

อุปสงค์การท่องเที่ยวนี้จึงขึ้นอยู่กับราคาสินค้าและบริการท่องเที่ยว และ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ


21.
แบบจำลองสถานการณ์

# ทำการปรับลดอุปสงค์การท่องเที่ยวโดยรวมลงจนกระทั่งอัตราการเติบโคของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (Real GDP) ลดลงไปร้อยละ 1 ตามที่ต้องการ

# เพื่อสะท้อนผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะสั้นถึงปานกลาง แบบจำลองสถานการณ์จะำกำหนดให้

* ผู้ประกอบการสามารถปรับปริมาณการจ้างงานนอกภาคเกษตรได้อย่างอิสระ เช่น การปรับปริมาณการจ้างานในกิจการท่องเที่ยวโดยตรง อาทิ การจ้างงานในกิจการ โรงแรม กิจการขนส่ง กิจการร้านอาหาร กิจการบันเทิง และ กิจการบริการส่วนบุคคล ฯลฯ


22.
แบบจำลองสถานการณ์

# การปรับปริมาณการจ้างงานในภาคเกษตร ปริมาณการใช้ทุนทั้งในและนอกภาคเกษตร และ ปริมาณการใช้ที่ดินเป็นไปอย่างจำกัด

# ผลตอบแทนแรงงานในภาคเกษตร ผลตอบแทนทุนทั้งในและนอกภาคเกษตร และ ผลตอบแทนที่ดินเป็นไปอย่างอิสระ

# การใช้จ่ายของภาครัฐและการลงทุนโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลงในระยะสั้นถึงปานกลาง

# เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในรายได้ที่แท้จริงของภาคครัวเรือน การออมของภาคครัวเรือนจะกำหนดให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน


23.
แบบจำลองสถานการณ์

# เพื่อสะท้อนความเป็นจริงที่ว่าในระยะสั้นถึงปานกลาง ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และ ฉับพลันสามารถปรับลดอัตราการจ้างงานในกิจการได้

# ในขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตร การท่องเที่ยวไม่ได้ปรับลดอัตราการจ้างงานในทันที รวมั้งความเป็นจริงที่ว่าการปรับปริมาณการใช้ทุนและที่ดินเป็นไปได้อย่างจำกัด เมื่อเที่ยบกับการปรับการจ้างงาน


24.
(3) ผลการศึกษา
จุดวิกฤตและผลกระทบที่ตามมา


25.
จุดวิกฤต

การท่องเที่ยวไทยหดตัวลง 33.17 %
หรือ เทียบเท่ากับการสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว 222,661 ล้านบาท

=> 60.74 % การหดตัวของ Inbound tourism 45.22 % (เทียบเท่า 135,235 ล้านบาท หรือ นักท่องเที่ยวมาเมืองไทยลดลง 3,570,844 คน)

=> 34.36 % การลดกิจกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยของคนไทย (domestic tourism) ลดลง 34.20 % (เทียบเท่า 76,508 ล้านบาท หรือ นักท่องเที่ยวชาวไทยลดการท่องเที่ยวลง 16,460,413 ครั้ง)

=> 4.9 % การลดการท่องเที่ยวในต่างประเทศของคนไทย (outbound tourism) 7.36 % (เทียบเท่า 10,918 ล้านบาท)



26.
ผลกระทบเมื่อถึงจุดวิกฤต

การท่องเที่ยวไทยหดตัวลง 33.17 %
หรือ เทียบเท่ากับการสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว 222,661 ล้านบาท

=> รายได้ครัวเรือนสูญไป 8.07 % (ลดลง 223,131 ล้านบาท)

- ครัวเรือนนอกภาคเกษตสูญรายได้ 171,878 ล้าน บาท
- ครัวเรือนในภาคเกษตรสูญรายได้ 51,253 ล้าน บาท

=> ค่าเงินบาที่แท้จริงอ่อนตัวลง 4.21 %

=> การผลิตในประเทศลดลง 4.87 % (ลดลง 501,211 ล้าน บาท) (2.3 เท่าของมูลค่าการสูญเสียรายได้ท่องเที่ยว)


=> การจ้างงานลดลง 4.91 % (ลดลง 109,813 ล้านบาท) (49.32 % ของมูลค่าการสูญเสียรายได้ท่องเที่ยว)


=> การใช้ทุนลดลง 5.04 % (ลดลง 119,345 ล้าน บาท) (53.60 % ของมูลค่าการสูญเสียรายได้ท่องเที่ยว)



27.
การเปลี่ยนแปลงในกิจการบางสาขา
-ไม่นำเสนอในที่นี้ (เนื่องจาก เมื่อยนิ้วมือ)


28.
การเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินค้าและบริการบางสาขา (พันล้านบาท)
- ไม่นำเสนอในที่นี้ (เนื่องจาก เมื่อยนิ้วมือ)


29.
การเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินค้าและบริการบางสาขา (Value %)


30.
การเปลี่ยนแปลงปริมาณสินค้า และ บริการบางสาขา (ร้อยละ) (Quantity %)


31.
การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการสาขา (ร้อยละ) (Price %)


32.
การเปลี่ยนแปลงปริมาณ และ ราคาของสินค้าและบริการบางสาขา

* กิจการส่วนใหญ่จะมีการปรับเปลี่ยนปริมาณการผลิตมากกวาการเปลี่ยนแปลงในราคา กิจการเหล่านี้จึงมีความยืดหยุ่นในการปรับการผลิตต่อราคาสูงกว่า 1 เช่น

: กิจการขนส่ง กิจการโรงแรม กจการร้านอาหาร กิจการเครื่องดื่ม กิจการบริการส่วนบุคคล อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ กิจการเครื่องแต่งกาย ยกเว้น รองเท้า กิจการอุปกรณ์ขนส่ง รถยนต์ เรือ รถบรรทุก กิจการหนัง เครื่องหนัง และ รองเท้า กิจการอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ กิจการผลิตโลหะแปรรูป กิจการสิ่งทอ กิจการอสังหาริมทรัพย์ และ กิจการผลไม้


33. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการจ้างงานบางสาขา (พันล้านบาท) (Value 1000 million baht)


34.การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการจ้างงานบางสาขา (ร้อยละ) (Quantity %)


35. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการใช้ทุนบางสาขา (พันล้านบาท) (Value 1000 million baht)


36.
การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการจ้างงานบางสาขา (ร้อยละ) (Price %)


37.
เปรียบเทียบกับสถิตินักท่องเที่ยวในอดีต


38.
การท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ผ่านมาปีต่อปี

:สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว


39.
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ผ่านมาปีต่อปี
:สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว

40.
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงมากที่สุดในปี 2546
:สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว

41.
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงล่าสุดในปี 2552

เดือน/ไตรมาส พ.ศ.2551 พ.ศ.2552 การเปลี่ยนแปลง (คน) และร้อยละ(%)

มกราคม..........1,437,686..1,267,029....-170,657..............-11.87
กุมภาพันธ์........1,481,458..1,138,092...-343,366..............-23.18
มีนาคม............1,407,649..1,237,507...-170,142..............-12.09

ไตรมาส 1........4,326,793...3,642,628...-684,165.............15.81

เมษายน...........1,222,253...1,085,351...-136,902............-11.20
พฤษภาคม........1,172,310....923,918....-248,392.............-21.19
มิถุนายน...........1,155,004....954,809...-200,195.............-16.49

ไตรมาส 2.........3,549,567....2,964,078...-585,489...........-16.49

ครึ่งปีแรก.........7,786,360.....6,606,706,...-1,269,654......-16.12

ที่มา:สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว


42.
(4) บทสรุป

43.
บทสรุป

1. ผลกระทบจากวิกฤตท่องเที่ยวมีผลกระทบโดยตรง
แต่ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากผลกระทบโดยอ้อม ผลกระทบจากรายได้ ผลกระทบจาการจัดสรรปัจจัยการผลิต

2. จากสถิติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงจนถึงจุดวิกฤตในปี 2546 (หน่วยร้อยละ)

*3.จากสถิติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงล่าสุดในช่วงครึ่งปีแรก 2552 ยังไม่ถึงจุดวิกฤต (หน่วยร้อยละ)

4.อย่างไรก็ตาม เมื่อการท่องเที่ยวลดลงจนถึงจุดวิกฤตแล้ว ผลกระทบที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและผลกระทบระดับกว้างจะสูงมาก


44.
(5) ข้อเสนอแนะงานวิจัย


45.
ข้อเสนอแนะงานวิจัย

1.สำหรับประเทศไทย เมื่อเกิดภาวะถดถอยในกิจการท่องเที่ยว ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวและกิจการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวต่างมีความสามารถในการปรับตัวได้เร็วกว่ามาตรการช่วยเหลือจากหน่วยงานของภาครัฐ

การปรับตัวของเอกชนจะดีกว่ามาตรการของภาครัฐหรือไม่นั้น ควรเป็นหัวข้องานวิจัยในอนาคต


46.

2. การปรับลดราคาสินค้าและบริการของผู้ประกอบการท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงการปรับการจ้างงาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดเงินเดือน และ ค่าตอบแทนแรงงาน การปรับจำนวนแรงงาน และ การปรับปริมาณการใช้ทุน จะช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากการถดถอยของการท่องเที่ยวไทยโดยรวมได้มากน้อยเพียงไร โดยอาจจะเลืิอกศึกษาเฉพาะบางกิจการที่สำคัญเพื่อจะได้เปรียบเทียบผลกระทบ เช่น กิจการโรงแรมม กิจการขนส่ง กิจการร้านอาหาร กิจการบันเทิง และ กิจการบริการส่วนบุคคล เป็นต้น


47.
เอกสารอ้างอิง

Source:จาก เอกสารแนบที่ 2

วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย
ความสูญเสียจากวิกฤตท่องเที่ยว

อนันต์ วัฒนกุลจรัส
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาับันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ณ หอประชุมอาคารรวมวิจัย และ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9 กันยายน พ.ศ.2552










:Moonfleet ต้องขอขอบคุณสำหรับ อาจารย์ อนันต์ วัฒนกุลจรัส
แห่ง คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาับันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในการนำเสนอผลงานการวิจัยในครั้งนี้

แต่ Mooonfleet ขอแสดงความเห็นด้วย และ ความเห็นที่แตกต่างในเรื่องของบทสรุป ดังนี้

1.Moonfleet เห็นด้วยที่ว่า ผลกระทบจากวิกฤตท่องเที่ยวมีผลกระทบโดยตรง
แต่ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากผลกระทบโดยอ้อม ผลกระทบจากรายได้ ผลกระทบจาการจัดสรรปัจจัยการผลิต

2. จากสถิติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงจนถึงจุดวิกฤตในปี 2546 (หน่วยร้อยละ)

Moonfleet มีความเห็นแตกต่างเป็นดังนี้ จากสถิติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงจนถึง"จุดต่ำที่สุด" ในปี 2546 (หน่วยร้อยละ) จนเป็น "จุดวิกฤตในปี 2546"


3.จากสถิติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงล่าสุดในช่วงครึ่งปีแรก 2552 ยังไม่ถึงจุดวิกฤต (หน่วยร้อยละ)

Moonfleet มีความเห็นแตกต่างเป็นดังนี้
จากสถิติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงล่าสุดในช่วงครึ่งปีแรก 2552 ยังไม่ถึงจุดต่ำสุดเทียบกับในปี 2546 แต่ก็ถือว่าเป็น "จุดวิกฤต" (หน่วยร้อยละ)
ในปี พ.ศ.2552


4.อย่างไรก็ตาม เมื่อการท่องเที่ยวลดลงจนถึงจุดวิกฤตแล้ว ผลกระทบที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและผลกระทบระดับกว้างจะสูงมาก

Moonfleet มีความเห็นแตกต่างเป็นดังนี้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยวจะไม่ลดลงจนถึงจุดต่ำสุดดังเช่นในปี 2546 แต่ถ้าการท่องเที่ยวยังคงเป็นอยู่ดังเช่นปัจจุบันนี้ (คือ ไม่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากขึ้น) ภาวะวิกฤตจะเกิดขึ้นในระยะเวลาที่ยาวนาน และ มีผลกระทบในระดับที่กว้างมากขึ้น

ขอแสดงความนับถือ


Moonfleet ข้อแสดงความคิดเห็นต่อ ตารางที่ 25 และ 26 ของเอกสารแนบ 2
ที่ว่า

ถ้าการท่องเที่ยวหดตัว 33.17 % หรือ เทียบเท่ากับรายได้ 222,661 ล้านบาท

=> จะทำให้ GDP ลดลง 4.87 % หรือ 501,211ล้านบาท หรือ (2.3 เท่าของมูลค่าการสูญเสียรายได้ท่องเที่ยว)

ดังนั้น

GDP เปลี่ยนแปลง 1% จะมีมูลค่า =102,918 ล้านบาท

การท่องเทีี่ยวไทยหดตัวลง 33.17 % มีูมูลค่าเท่ากับ 222,661 ล้านบาท

ดังนั้น 1 % = 6,712.7 ล้านบาท


จากตัวคูณ 2.3

ดังนั้น

ถ้าการท่องเที่ยวติดลบทุกๆ 1 % จะมีมูลค่า = 6,712.7 ล้านบาท
จำทำให้ GDP ติดลบ = 15,439.2 ล้านบาท


จะสามารถสรุปได้ว่า

ถ้าการท่องเที่ยวติดลบ เพียง 6.47 % เทียบเท่ากับการสูญเสียรายได้จาการท่องเที่ยว 43,431.16 ล้านบาท

และ จะทำให้ GDP (การผลิตภายในประเทศ) ลดลง =99,891.68 ล้านบาท หรือ GDP -1%

สรุป อีกครั้ง
ถ้านักท่องเที่ยวลดลงเพียง 6.47 % ประเทศไทยจะเกิดวิกฤติ

จากนิยาม วิกฤต คือ GDP -1 หรือ ลดลง 100,000 ล้านบาท

Moonfleet
:เขียนในวันเสาร์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ.2552




นพบุรี ศรีนครพิงค์ เวียงเชียงใหม่ นครแห่งชีวิต ความมั่งคั่ง และ ความมั่นคง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น